000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > สเปค... Specification...เชื่อได้แค่ไหน
วันที่ : 01/11/2015
6,816 views

สเปค... Specification...เชื่อได้แค่ไหน

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

สเปค? มาจากคำว่า Specification แปลง่ายๆว่า คุณสมบัติทางเทคนิค?? เพื่อบ่งบอกคุณสมบัติ? จำแนก? แยกแยะวัสดุหรืออุปกรณ์ว่ามีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร? เหมาะกับการนำไปใช้งานอะไร อย่างไร ทนทานแค่ไหน

สเปค? จึงบ่งบอกตัวตนของวัสดุ อุปกรณ์? หรือแม้แต่สันดานของคนที่สาวๆมักจะพูดว่า ?หนุ่มคนนั้นไม่ตรงสเปคฉัน?

เพื่อให้การเปรียบเทียบสเปคของวัสดุ อุปกรณ์ ฯลฯ เป็นไปอย่างสมเหตุสมผลจึงต้องมาประชุมและวางกฎกติกาของสเปคสำหรับวัสดุ อุปกรณ์ ฯลฯ นั้นๆคือ? มีมาตรฐาน หรือ กฎแห่งการ วัด/ทดสอบ/วิเคราะห์ เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ในวงการก่อสร้าง,วัตถุดิบ,เครื่องกลและแน่นอนเครื่องใช้ไฟฟ้า,เครื่องเสียง,เครื่องภาพ ต่างก็มีมาตรฐานสากลกลาง เช่น ?FCC? RIAA? DIN? UL ฯลฯ? บางทีก็แบ่งตามประเทศเช่น มาตรฐานของฝั่งยุโรป,ฝั่งอเมริกา,ฝั่งญี่ปุ่น

การกำหนดสเปค? จะมีการระบุเงื่อนไขต่างๆของการวัดเช่น? วัดกำลังขับของภาคขยายแบบป้อนสัญญาณอะไรเข้าไปสวิงแว้บเดียวหรือแช่ตลอด,รูปสัญญาณ วัดที่กำลังขับสวิงสูงสุดก่อนภาคขยายพัง หรือ วัดกำลังขับแบบต่อเนื่อง? วัดที่โหลดกี่โอห์ม( ความต้านทานของลำโพง )? วัดเมื่อป้อนสัญญาณเข้าพร้อมกันทั้งซีกซ้ายกับขวา ( กรณีภาคขยายสเตอริโอ ) หรือ ป้อนข้างเดียว,ป้อนด้วยสัญญาณความถี่เดียวโดดๆ (เช่นที่ 1 khz ) หรือป้อนสัญญาณแบบเสียงซ่าครอบคลุมทุกช่องความถี่ต่ำสุดถึงสูงสุดพร้อมๆกันและวัดที่ความเพี้ยนเท่าไหร่ (เช่นที่ความเพี้ยน0.1% หรือ 1% )

นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียวของสเปคแค่ตัวเดียวคือ? กำลังขับ? วิศวกรทั้งหลายที่มาร่วมกันกำหนดสเปคจะพยายาม จำลอง สถานการณ์การใช้งานจริงๆให้มากที่สุด ครอบคลุมทุกแง่มุมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ ตัวเลขสเปค ที่มีความหมายมีความเที่ยงตรงหรือพยากรณ์ได้ คาดหวังได้เมื่อนำไปใช้งานจริงๆ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรจะเป็น

?การวัดสเปคเราเรียกว่า วัดแบบOBJECTIVE? เมื่อ 40-50 ปีที่แล้วที่เครื่องเสียงเริ่มเข้าสู่ยุคเฟื่องฟู ค่าสเปคเป็นสิ่งมี่ทุกฝ่ายยอมรับ ชื่นชู ยกย่อง ผู้ออกแบบและผลิตเครื่องเสียงจะชูสเปคเป็นหลักทั้งการออกแบบและการโฆษณา มีการแข่งขันทำเครื่องเสียงให้ได้สเปคดีกว่าคู่แข่งขันเรื่อยๆจนเริ่มมีการตั้งคำถามว่า ?เราต้องการสเปคที่ตัวเลขดูดีเลอเลิศขนาดนั้นจริงๆหรือ?เช่น จากความเพี้ยนคู่ควบ (THD)ในยุคแรกสุดที่ 10 % แล้วก็พัฒนาเป็น 1 % จนสุดท้ายเหลือ 0.001 %

หรือการตอบสนองภาคความถี่ภาคปรีแอมป์จากแรกเริ่ม 20 Hz-20 KHz แล้วก็ก้าวกระโดดถึง 0 Hz-1000 KHz ( 0 Hz -1 MHz ล้าน Hz ) เราต้องการซุปเปอร์สเปคอย่างนั้นหรือ? ขณะที่หูมนุษย์ตอบสนองได้แค่ 20 Hz ? 20 KHz (เฉพาะเด็กแรกเกิด)? วัยกลางคนจะได้แคบกว่าเช่น อาจจะ 30 Hz ? 17 KHz? คนสูงอายุอาจ 40 Hz ? 14 KHz

เท่าๆ กับที่เริ่มมีนักวิจารณ์จากทั่วโลกหลายๆท่านเริ่มให้ข้อสังเกตว่า ทำไมเครื่องเสียงบางชิ้นดูแย่กว่าพอสมควรเลยแต่ทำไมกลับให้เสียงน่าฟังกว่า ได้อารมณ์กว่า

หลายๆอุปกรณ์เครื่องเสียงที่สเปคดีขึ้นๆแต่เสียงจริงกลับแย่ลงเช่น ความเพี้ยน THD ต่ำขึ้นเป็น 100 เท่าแต่เสียงกลับแข็งกระด้าง,กร้าว,จั๊กจี้หูขึ้น

ข้อฉงนนี้เริ่มแผ่ขยายไปในวงการเครื่องเสียงกับอุปกรณ์ทุกๆชิ้นแม้แต่ สาย,ลำโพง ไม่ใช่เฉพาะแหล่งรายการ,ปรี,เพาเวอร์แอมป์

ความศักดิ์สิทธิ์ ของสเปคเริ่มเสื่อมลง วิศวกรด้านเสียงระดับโลกเริ่มกลับมามองว่า ?มันเกิดอะไรขึ้น? ทำไมการวัด (OBJECTIVE)จึงให้ผลการรับฟัง ( SUBJECTIVE) ที่สามารถต่างกันได้แบบหน้ามือกับหลังมือ? มาตรฐานการวัดสเปคต่างๆ ถูกทบทวน วิศวกรด้านไฟฟ้าและเสียงเริ่มมองในมุมกว้างขึ้นไม่โฟกัสแต่สเปคจำกัดแคบๆ นั้น พวกเขาเริ่มมองผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจาก การกระทำใดๆก็ตามที่พยายามให้ได้ตัวเลขสเปคอย่างหนึ่งที่ดูดีขึ้น มันคือการได้ข้อดีบางอย่าง แต่ต้องแลกด้วยข้อเสียอีกหลายๆอย่างตามมาหรือไม่พวกเขาเริ่มให้ความสำคัญของ เครื่องมือวัด ที่ดีที่สุดในโลกนั่นคือ หูของมนุษย์

ขณะที่บางค่ายเช่นค่ายญี่ปุ่น ก็ยังยึดติดกับการวัดสเปคโดยอ้างว่า การได้ยินของมนุษย์ หรือ ความชอบ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ (MOOD ) ขณะนั้นๆของผู้ฟัง ซึ่งเอาเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ ( จริงๆแล้วพวกเขาไม่ต้องการฝากความอยู่รอดไว้กับใครคนใดคนหนึ่ง หูใดหูหนึ่งมากกว่า พวกเขาอาจยากที่จะควบคุมหรือครอบงำ ต่างจากเครื่องมือวัดที่ไม่มีปากมีเสียงไม่ได้ )? ( ค่ายนี้แทบจะไม่เคยทำเครื่องเสียงที่เสียงเป็นผู้เป็นคนเลย ไม่ว่าถูกหรือแพงแค่ไหน )

ตรงกันข้าม เครื่องเสียงค่ายยุโรปบางยี่ห้อ ( 2-3 ยี่ห้อ ) ถึงกับประกาศอิสรภาพจากคำว่าสเปค? มีการระบุสเปคน้อยมากๆแทบไม่มีเลย แต่สุ้มเสียงที่ได้กลับน่าฟังไปหมด เต็มไปด้วยอารมณ์และจิตวิญญาณ

ปัจจุบันวงการเครื่องเสียงเริ่มซาลงไปมากกับการให้ความสำคัญของสเปค จนถึงจุดที่เริ่มมองข้าม ไม่สนใจว่าสเปคนั้นกำลังบ่งบอกว่า มันมีความดีขนาดไหน หากแต่กลับมองว่า สเปคนั้นๆเข้ากันได้กับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆหรือไม่ อย่างไร การขอดูสเปคเป็นแค่ดูว่า? มันทำอะไรได้บ้าง ต่อเชื่อมเข้ากันได้ไหม ก็แค่นั้น

นี่เป็นยุคทองของการให้ความสำคัญกับการฟังจริง (SUBJECTIVE) อย่างนั้นหรือ ? ?หามิได้ เป็นเรื่องเศร้าที่ผู้บริโภครุ่นใหม่ ไม่มีโอกาสได้สัมผัส รับรู้ ซึมซาบ ดื่มด่ำกับจิตวิญญาณของเครื่องเสียงดีๆ โดยเฉพาะเด็ก หรือ วัยรุ่นยุคใหม่อายุตั้งแต่ประมาณ 30 ปีลงมา เป็น 30 ปีแห่งการเสื่อมถอยของวงการเครื่องเสียงลงเรื่อยๆ เด็กรุ่นใหม่ วัยรุ่นรุ่นใหม่สนใจแต่ ปริมาณ (QUANTITY) มากกว่า คุณภาพ (QUALITY) พวกเขาหลงระเจิงกับเสียงแบบย่นย่อข้อมูลเช่น ?MP3, MP4, และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเตอร์เน็ตที่ไร้คุณภาพเสียง

?พวกเขาถูกอบรมและเกิดขึ้นมาภายใต้เสียง ? ยุคหูตะกั่ว ?? สเปคไม่ใช่สิ่งที่ต้องเอามาปริวิตกอีกต่อไป พวกเขาไม่รับรู้ ไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจ ขอให้มันมีเสียงที่เต้นได้ แม้มันจะรกหูเต็มทนก็ตาม พวกเขาเสพเสียง? มากกว่า เสพศิลป์

ในทางตรงข้าม ค่ายเครื่องเสียงที่ยังยึดมั่นกับเสียงจริง (SUBJECTIVE) ก็ยิ่งปลดปล่อยตัวเองอย่างเต็มที่ต่อการวัดสเปค พวกเขาแทบจะโยนมันทิ้งลงชักโครกไปแล้ว สำหรับพวกเขาทำอย่างไรก็ได้ให้เสียงน่าฟังและขายได้ ไม่มีความจำเป็นต้องมานั่งวัดสเปคแล้วระบุไว้ที่คู่มือเครื่องหรือใบโฆษณา เหตุการณ์นี้ระบาดไปทั่ววงการเครื่องเสียงไฮเอนด์ในปัจจุบัน (ข้อดีอย่างสำคัญคือ สำหรับบริษัทไฮเอนด์เล็กๆเกิดใหม่ พวกเขาไม่ต้องลงทุนกับเครื่องมือวัด หรือ ห้องทดสอบมูลค่านับล้านๆบาท )

ตกลงว่า สเปคเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญอะไรเลยอย่างนั้นหรือ? ไม่....แม้แต่จะพูดถึงใช่ไหม

ความจริงของสเปค

จริงๆแล้ว การระบุหรือแสดงตัวตนของอุปกรณ์เครื่องเสียงแต่ละชิ้น ไม่ว่าเป็นอะไร, ส่วนไหนของห่วงโซ่แห่งการเล่นเครื่องเสียง ด้วยการวัดสเปค ไม่ใช่สิ่งที่จะมองข้ามได้ หรือ ไร้สาระ ตราบเท่าที่วิธีการวัดนั้นๆทำอย่างมีเหตุผลแห่งการ ?จำลอง? สภาวะการใช้งานจริงๆได้อย่างครอบคลุม หลากหลายอย่างทุกแง่มุมจริงๆ ทุกมิติของการทำงานเช่น ระดับสัญญาณ, รูปแบบสัญญาณ, ความฉับพลันของสัญญาณ, ความถี่ต่างๆอย่างครอบคลุมทั่วหมด, ระยะเวลาแห่งการทำงาน, ความต้านทานเชิงซ้อนขาออกของตัวปล่อยสัญญาณ(หรือ SOURCE ), ความต้านทานเชิงซ้อนขาเข้าของตัวรับสัญญาณ (LOAD) กราฟการวัดที่ได้ มิใช่แค่ 2 แกน อาจจะมากถึง 3 แกนหรือกว่านั้น !

พูดง่ายๆว่า ตัวระบุการวัด, เงื่อนไขการวัด, ผลที่ได้ทุกมิติ ฯลฯ ซึ่งท้ายที่สุดคงยากที่จะหาผู้บริโภคคนใดเข้าใจเทคนิคเหล่านี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง สเปค จะมิใช่แค่กระดาษหน้าเดียว หากแต่น้องๆพ็อกเก็ตบุ้คขนาดเล็ก 1 เล่มทีเดียวสำหรับอุปกรณ์เครื่องเสียงสักชิ้น

สำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านไฟฟ้า, อีเล็คโทรนิคส์อย่างดี ขณะที่เขาทำการฟังทดสอบเครื่องเสียงอย่างผู้เชี่ยวชาญในการฟัง แท้จริง?? เขาจะสามารถนำผลการฟังที่ได้แต่ละแง่มุมมาเทียบเคียงได้ว่า เกิดจากการออกแบบเครื่องเสียงนั้นๆมาอย่างไร เป็นการนำ ศิลป์ มาอธิบายด้วย ศาสตร์ ความรู้สึกกับการวัดว่ามันเกี่ยวข้อง สอดรับกันได้อย่างไร คนที่จะมาถึงจุดนี้ต้องเก่งทั้งศาสตร์และศิลป์จริงๆ ต้องระดับเทพทั้ง 2 ด้าน ( คุณคิดว่าโลกนี้จะมีซักกี่คน )

คนๆ นี้จะสามารถพยากรณ์ได้ว่า เครื่องเสียงนั้นๆ จะให้สุ้มเสียงได้อย่างไร จากการพิจารณาจากสเปค (ที่ต้องละเอียดทุกแง่มุมอย่างสุดๆจริงๆดังกล่าวแล้ว) โดยแทบจะยังไม่ต้องฟังเสียงจริงเลย แน่นอน? เขาทำได้จริง

สเปค (ที่สมบูรณ์แบบที่สุด....ขอย้ำเน้น) จึงไม่มีวันถูกมองข้ามได้ว่า? ไร้สาระ? มีแต่สเปคแบบหยาบๆขอไปทีหรือสเปคแหกตา ซี้ซั้ว ยกเมฆหรือวัดผิดๆเท่านั้นที่จะเข้าข่าย? ไร้สาระ ได้อย่างยากปฏิเสธ

สภาพแวดล้อม สิ่งที่เบี่ยงเบนสเปค

ในอดีต สภาพแวดล้อมที่เบี่ยงเบน ผลการฟัง ให้ผิดแปลกหรือยากจะอธิบายด้วยคำว่า สเปค ก็เห็นจะมีแต่ ปัญหาทางอคูสติก ของห้องฟังแต่ละที่เท่านั้น (ก้องมาก ก้องน้อย, ทึบมาก ทึบน้อย, ขนาดและสรีระของห้อง) ซึ่งตรงนี้ก็สามารถทำให้ผลการฟังต่างกันได้มากหรือโดยสิ้นเชิงทีเดียว แต่โชคดีที่ห้องฟังโดยทั่วไปจะใช้ห้องนอนหรือห้องนั่งเล่นซึ่งแต่ละบ้านก็คงไม่ต่างกันกี่มากน้อย ยิ่งชีวิตคอนโดหรือชีวิตกล่อง ยิ่งแทบจะพิมพ์เดียวกัน

แต่ปัจจุบัน สภาวะแวดล้อมที่ต่างๆกันไปไม่ได้ถูกกำหนดจากด้านสรีระและอคูสติกของห้องอย่างเดียวอีกต่อไป

ความเจริญของระบบสื่อสารไร้สาย ควบคุมไร้สาย (Wireless) ไม่ว่าระบบโทรศัพย์มือถือ, ระบบโทรศัพท์บ้านไร้สาย, ระบบรีโมทไร้สาย, กล้องดิจิตอล, คอมพิวเตอร์บ้าน (PC), คอมพิวเตอร์หิ้ว (โน้ตบุ้ค) , Tablet (iPad, Galaxy, etc.) รีโมทเปิด-ปิดประตูรั้ว,ไฟ , ฯลฯในบ้าน (พวกบ้านอัจฉริยะ), ระบบเชื่อมต่อไร้สายเข้าอินเตอร์เน็ต (LAN WIFI) จอ LCD/PLASMA, นาฬิกาควอตซ์ (ข้อมือ,ตั้งโต๊ะ,แขวนผนัง),เครื่องเล่นCD,DVD, BLU-RAY, เครื่องเพิ่มเส้นภาพ (SCALER), เครือข่ายบริการโทรศัพท์มือถือไร้สาย (CELL SITE), หรือ WIFI? (HOT SPOT) จากภายนอก,จากข้างบ้าน,จากในบ้านเอง (ปัจจุยันเฉลี่ยแต่ละบ้านจะโดนกระหน่ำด้วยคลื่นวิทยุ WIFI ไม่ต่ำกว่า 4 ? 5 spot บางแห่งเป็น 10 ยิ่งอยู่อพาร์ทเม้นต์,คอนโด, โรงแรม น่าจะมากกว่า 10)

แม้แต่บัตรเครดิต, บัตรATM, บัตรห้าง ที่มีแถบแม่เหล็กหรือชิปฝัง( บัตรประจำตัว ) ที่ใส่ในกระเป๋าเสื้อ? ก็ล้วนมีผลต่อเสียง? บางแห่งมีเสาส่ง-รับของเครือข่ายมือถือหรือวิทยุชุมชนอยู่บนดาดฟ้าหรือใกล้เคียง ? ยิ่งปัจจุบันเริ่มเปิดทดลองออกอากาศทีวีระบบดิจิตอลที่จะมีการกระจายจุดรับ-ส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลเป็นจุดย่อยๆทั่วบ้านทั่วเมืองแทนที่จะเป็นเสาใหญ่รวมทีเดียวแล้วกระจายออกไปทั่ว (คือเป็นระบบ NET WORK หรือ เครือข่ายดาวกระจาย) แน่นอนว่า คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ (RF) จะกระจายเต็มไปทั่วกรุง

นี่ยังไม่นับการออกอากาศ ?TV ปัจจุบัน (ทั้งแบบเสา,แบบเคเบิ้ล, แบบดาวเทียม) การออกอากาศสถานีวิทยุ (เฉพาะ FM กว่า 40 คลื่นสถานีทั่วกรุง) (ไม่นับชุมชนอีกหลายพันสถานีทั่วประเทศ

?????? คลื่นกวนจากจอ LED (ไม่ใช่ LCD)ยักษ์ตามถนนหนทาง บนตึกสูง บนหลังคาป้อมตำรวจตามสี่แยก บนตึกด้านหน้าห้างใหญ่ๆ? แม้แต่หลอดประหยัดไฟ หลอดนีออนไร้บัลลาสท์ก็ส่งคลื่นรบกวนออกมา ขณะเดียวกันระบบไฟบ้าน (ไฟ ?AC) ในปัจจุบันก็เต็มไปด้วย สัญญาณรบกวน (NOISE) สารพัดรูปแบบ หนักหนาสาหัสกว่าในอดีตเมื่อ 30-40 ปีที่แล้วอย่างเทียบกันไม่ได้ ล่าสุดมีการนำระบบไฟบ้านเป็นสาย LAN เพื่อการส่งข้อมูลเชื่อมต่อข้อมูลกับอินเตอร์เน็ตผ่านสายไฟ ?AC (เรียกระบบ PLC (POWER LINE COMMUNICATION ) ยิ่งเติมขยะลงไปในสายไฟ AC อย่างทับถมทวีคูณมหาศาล จริงๆระบบ PLC น่ารังเกียจไม่ควรทำอย่างยิ่ง เป็นการรบกวน ทำร้าย ทำลายสุขภาพ (คลื่นขยะ ?PLC? ที่กระจายออกรอบตัวผ่านสายไฟบ้าน? AC) และอุปกรณ์ไฟฟ้า, เครื่องเสียง ,ภาพอื่นๆทั้งของตนเองและเพื่อนบ้าน ในเมืองนอกระบบมิเตอร์ไฟอัจฉริยะตามบ้านก็มีปัญหานี้ ต่อสุขภาพอย่างมาก

2 กรณีใหญ่นี้ (RF และ AC NOISE) จะส่งผลเสียต่อการทำงานของทั้งเครื่องเสียงและภาพให้แย่ลงมาก ทุกกรณีอย่างที่คุณนึกไม่ถึงเลยทีเดียว พูดได้ว่าผลแย่ลงมีตั้งแต่ 25 ? 40 %

นี่ยังไม่นับผลของมันที่มีต่อการรับรู้ของประสาทสมองมนุษย์ซึ่งยืนยันได้ว่ามีผลจริง ทดสอบให้ฟังได้ ผลนั้นมีตั้งแต่ 25 ? เกิน 100 %

แย่หน่อยที่ขณะผู้ออกแบบและผลิตเครื่องเสียงและภาพไม่มีใครเอะใจ ตระหนักถึงผลเสียเหล่านี้ พวกเขามักวัดสเปคกันภายในห้องทดสอบ ห้องเก็บเสียงหรือห้องฟังที่มักห่างไกลจากตัวเมืองเช่น อยู่ในชนบทที่เงียบสงบ ปัญหาคลื่นขยะ (ทั้งไฟบ้าน ?AC? และทางอากาศ? RF) ต่ำมาก เครื่องเสียงทำงานได้ค่อนข้างดีเป็นไปตามสเปค ประสาทสมองปลอดโปร่งไร้การถูกรบกวน

จึงคาดหวังได้เลยว่า ผลการฟังจริงที่บ้านเรา , ในเมือง , ในโชว์รูม , ในห้าง กับสเปคที่เขาแนบระบุมา ไม่มีการสอดคล้องกันได้เลย ต่อให้ระบุสเปคกันมาแบบโคตรละเอียดยิบทุกแง่มุมดังกล่าวแล้วก็ตาม

กรณีสุดท้าย

ผู้ออกแบบเครื่องเสียงมักลืมหรือมองข้ามสภาวะเงื่อนไขการนำเครื่องเสียงนั้นๆ ไปใช้งานจริงๆ โดยเฉพาะ การสั่นสะเทือน ( VIBRATION ) ซึ่งจะเกิดกับเครื่อง, ลำโพง, สายระดับกลางลงล่าง ซึ่งตัวเครื่อง, ตัวลำโพง, ตัวสายไฟ? AC มักมีขนาดไม่ใหญ่มาก ไม่หนักมาก จึงอ่อนไหวต่อผลของการสั่น โดยเฉพาะต่อเครื่องเล่นแผ่น (หรือแม้แต่สายต่างๆ, สายสัญญาณเสียง, สายลำโพง, สายไฟ ?AC) ต่อตัวฉายภาพ (จริงๆ พวกปรีแอมป์, เพาเวอร์แอมป์ก็มีผลหมด)

ปัญหาการสั่นสะเทือนจะลดทอนคุณภาพเสียงได้อย่างคาดไม่ถึงตั้งแต่ 20-60 %ทีเดียว เรียกว่าหนังคนละม้วนเลย

นี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญมากที่ทำให้ผลการฟังจริงเบี่ยงเบนออกไปจากสเปคที่ระบุมาได้อย่างมากๆ

สาเหตุสุดท้าย คือ อายุการใช้งาน สำหรับเครื่องเสียงไม่ว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นไหน ถ้าเป็นของใหม่แกะกล่องจะต้องมีการเบินอินหรือใช้งานไปพักใหญ่ๆเช่น 30 ชั่วโมงขึ้นไป, 300 ชั่วโมงขึ้นไป เป็นต้น อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆจึงจะเข้ารูปเข้ารอยและให้สุ้มเสียงได้เต็มร้อยตามที่ผู้ออกแบบตั้งใจ ใหม่ๆจึงอาจได้ไม่ตรงสเปค

ทำนองเดียวกันอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้สักพักใหญ่ๆแล้วเก็บไว้นานๆ ไม่ใช้งานเช่นเป็นปีขึ้นไป อะไหล่บางตัวจะฝ่อ,เสื่อม ทำให้เสียงแย่ลงได้อย่างมากซึ่งอาจทำให้เสียงที่ได้จริงกับสเปคแตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459